นอกเหนือจากฐาน ISI แล้วปัจจุบันยังมีอีกฐานข้อมูลบทความวิจัยที่เติบโตอย่างรวดเร็วและได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ
คือ Scopus ซึ่งเป็นของบริษัท Elsevier (เจ้าของ ScienceDirect) ซึ่งปัจจุบันเขาเคลมว่าเป็นฐานข้อมูลงานวิจัยที่มีระบบกลั่นกรอง
(peer review) ที่ใหญ่ที่สุด โดยส่วนใหญ่วารสารที่อยู่ในฐาน ISI
มักจะอยู่ใน Scopus ด้วย แต่วารสารที่อยู่ใน Scopus
อาจจะไม่อยู่ใน ISI อย่างเช่นวารสารของหน่วยงานในประเทศไทยที่อยู่ใน
Scopus จะมีมากกว่า ISI เช่น Engineering
Journal, Songklanakarin Journal of Science and Technology, Walailak Journal of
Science and Technology, Maejo International Journal of Science and Technology, Chiang
Mai Journal of Science, ScienceAsia, Kasetsart Journal - Natural Science, International
Agricultural Engineering Journal เป็นต้น ฐาน Scopus เองก็จะคล้ายกับฐาน ISI คือมีแค่ abstract แล้วก็ข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลการอ้างอิงบทความต่างๆ โดย Scopus เป็นฐานข้อมูลที่ต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าใช้ แต่ถ้าไม่ได้จ่ายเงินจะดูได้เพียงส่วนที่เรียกว่า
Author preview ซึ่งหมายถึงเราสามารถเอาชื่อนักวิจัยคนหนึ่งใส่เข้าไป
(ส่วนใหญ่คือใช้ surname) แล้วจะได้ข้อมูลว่าคนคนนั้นตีพิมพ์บทความอะไรบ้างที่อยู่ในฐานข้อมูล
Scopus
เมื่อพูดถึง Scopus
ก็จำเป็นต้องต้องพูดถึงเว็บ SCImago Journal Rank (www.scimagojr.com)
ซึ่งเป็นเว็บเครือญาติของ Scopus โดยเว็บของของ SCImago Journal Rank เป็นเว็บสำหรับให้ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับวารสารที่อยู่ในฐาน Scopus
(ภาพที่ 1)
โดยที่สำคัญคือการทำ SCImago Journal Rank (SJR) indicator
ซึ่งก็เป็นดัชนีระบุระดับของวารสารที่เอามาแข่งกับระบบค่า impact
factor (IF) ของ ISI โดยทางบริษัท Elsevier
ก็พยายามบอกว่าตัวค่า SJR ของเขานั้นดีกว่า IF
ของ ISI
ภาพที่
1 หน้าเว็บของ SCImago Journal & Country Rank แสดงวารสารของไทยที่อยู่ในฐาน
|
แล้วตกลงถ้าอยากรู้ว่าวารสารที่เราสนใจอยู่ในฐาน
Scopus หรือไม่นั้นจะทำอย่างไร ก็ต้องบอกว่าหากสามารถเข้าใช้
Scopus แบบเต็มได้ก็ค้นหาได้เลย
แต่ถ้าค้นไม่ได้อีกทางที่สามารถทราบได้คือการดูใน Scopus journal title
list จาก http://www.elsevier.com/solutions/scopus/content ซึ่งจะมีไฟล์ Excel ที่มีรายชื่อวารสารทั้งที่อยู่ในปัจจุบันหรือเคยอยู่
เนื่องจากบางวารสารก็ถูกคัดออกได้เหมือนกันเมื่อคุณภาพไม่เป็นไปตามเกณฑ์ โดยมีการเพิ่มเติมแก้ไขอยู่เรื่อยๆ
ดังนั้นหากเราวางแผนจะตีพิมพ์ในวารสารหนึ่งก็ต้องตรวจสอบก่อนว่าวารสารนั้นยังอยู่ใน
list หรือไม่ โดยเฉพาะสำหรับวารสารเล็กๆ หรือวารสารแปลกๆ
นอกจากนี้หากให้ความสำคัญกับลำดับของวารสารก็จะต้องใช้เว็บของ
SCImago Journal Rank ซึ่งมีการให้คะแนน
SJR และจัดลำดับวารสารเป็นควอไทล์ (Quartile) Q1-Q4 (Q1
คือดีสุด) (ภาพที่ 2) แต่ข้อมูลจะมีลักษณะย้อนหลัง เช่น ปัจจุบันปี 2015
ก็จะมีการจัดลำดับของข้อมูลปี 2014 เป็นปีล่าสุด
ดังนั้นบางวารสารใน Scopus อาจจะยังไม่เข้าไปอยู่ใน SJR
ภาพที่
3 การจัดควอไทล์ของวารสาร
|
เนื่องจาก Scopus เป็นฐานข้อมูลใหม่
การยอมรับในแง่คุณภาพของวารสารที่อยู่ในฐานอาจจะแตกต่างกับของ ISI อยู่บ้าง เช่น ในกรณีของการจัดลำดับคุณภาพการวิจัยของ สกว.
นั้นให้น้ำหนักกับวารสารที่อยู่ใน ISI สูงกว่าเล็กน้อย เช่น
วารสารใน Q1 ของ ISI (เฉพาะ Science
Citation Index Expanded) นั้นได้รับ Rating = 5 แต่วารสารใน Q1 ของวารสารใน Scopus จะมีระดับเท่ากับ Q2 ของ ISI คือ Rating = 4 เป็นต้น
แต่ในกรณีอื่น เช่นการประเมินคุณภาพการศึกษาของ สกอ. นั้นให้น้ำหนักเท่ากัน
วารสารในกลุ่ม Food Science ของ Scopus
นั้นมีอยู่ประมาณ 240 วารสาร (ภาพที่ 3)
แต่อาจจะไม่ใช่วารสารที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียวเท่านั้น
ภาพที่
3 การค้นหาวารสารในกลุ่ม
Food Science บน SJR
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น