ประเทศไทยเองก็มีวารสารวิชาการที่จัดทำโดยหน่วยงานต่างๆ
จำนวนมาก โดยเฉพาะวารสารระดับมหาวิทยาลัย (และระดับคณะ) นั้นค่อนข้างเยอะกว่าปรกติ
ในขณะที่วารสารระดับสมาคมวิชาชีพกลับมีค่อนข้างน้อย การจัดทำวารสารระดับมหาวิทยาลัยโดยส่วนใหญ่ก็ได้รับงบประมาณจากต้นสังกัดดังนั้นวารสารเหล่านี้จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการหารายได้
วารสารที่จัดพิมพ์ส่วนใหญ่ก็ส่งไปตามห้องสมุดของหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาของเว็บไซต์วารสารในประเทศไทยส่วนหนึ่งก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการเปิดออนไลน์แบบ
Open Access กันเป็นส่วนใหญ่ซึ่งก็ช่วยให้การเข้าถึงบทความมีมากขึ้น
และลดต้นทุนการพิมพ์วารสารได้ในระดับหนึ่ง
ที่จริงแล้วเนื้อหาทางวิชาการของบทความในวารสารไทยนั้นบางส่วนก็มีคุณภาพสูงเพียงแต่ว่าเนื่องจากเป็นเรื่องที่มีลักษณะ
local มากกว่า global จึงอาจนำไปตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติได้ยาก
ในปี 2544 ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
ของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ริเริ่มการจัดตั้งศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
หรือ Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre โดยได้รับการสนับสนุนจาก สกว. (และอีกหลายหน่วยงานในปัจจุบัน)
เพื่อดำเนินการจัดทำตัวบ่งชี้ของวารสารในลักษณะเดียวกับค่า Impact factor ของ ISI เพียงแต่ใช้ข้อมูลของวารสารไทยที่อยู่ในฐานข้อมูลของ
TCI เท่านั้น เนื่องจากในอดีตนั้นการเข้าถึงวารสารไทยมีค่อนข้างน้อย
การอ้างอิงบทความของไทยก็น้อยมาก โดยพบว่าในอดีตนั้นวารสารไทยโดยเฉลี่ยมีค่า Thai
IF นั้นอยู่ในระดับ 0.0XX เท่านั้นเอง
ศูนย์ TCI ก็ได้เริ่มรณรงค์ให้หน่วยงานต่างๆ
นำวารสารวิชาการที่จัดทำมาเข้าสู่ฐานข้อมูลของ TCI ทำให้นักวิจัยไทยมีแหล่งค้นหาบทความวิจัยภาษาไทยได้สะดวกมากขึ้นอีกหน่อย
(ฐาน TCI ค้นได้แค่ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง
ชื่อวารสารเท่านั้น) และเมื่อประมาณปี 2554 TCI ก็ได้เริ่มประเมินคุณภาพของวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลเพื่อจัดกลุ่มวารสารออกเป็น
1, 2 และ 3 (กลุ่ม 1 ดีที่สุด) และได้ดำเนินการประเมินมาจนในปี
2558 นี้มีการประเมินรอบที่ 3 แล้ว โดยสำหรับวารสารของมหาวิทยาลัยศิลปากรทั้ง 3
วารสารคือ Silpakorn University Science and Technology Journal (สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), Silpakorn University Journal ofSocial Sciences, Humanities and Arts (สายสังคมศาสตร์) และวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
(สายสังคมศาสตร์) นั้นก็ได้รับการจัดอยู่ในกลุ่ม 1
ในขณะที่วารสาร Veridian E-Journal Science and Technology, Silpakorn
University (สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และ Veridian E-Journal, Silpakorn
University (สายสังคมศาสตร์)
ของบัณฑิตวิทยาลัยนั้นอยู่ในกลุ่ม 2 ซึ่งแน่นอนว่าการจัดกลุ่มก็ทำให้หน่วยงานอย่าง
สกว. และ สกอ. ให้น้ำหนักกับวารสารกลุ่ม 1 มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
ภาพที่
1 ผลการประเมินวารสารไทยของ TCI
ในปี 2558 (http://www.kmutt.ac.th/jif)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น