ค่า h-index เป็นค่าทีใช้บ่งบอกถึงความสามารถในการตีพิมพ์ผลงานและการที่ผลงานถูกนำไปอ้างอิงต่อซึ่งสามารถหาค่า
h-index ทั้งของระดับบุคคล หน่วยงาน ประเทศ หรือของวารสารก็ได้
การคิดนั้นก็ง่ายมากโดย h-index นิยามว่าเป็นจำนวนบทความ (h) ที่ได้รับการอ้างอิงอย่างน้อยจำนวน
h ครั้ง อย่างเช่น ถ้านาย A มีค่า h-index = 5 หมายความว่านาย
A มีบทความ 5 บทความที่ได้รับการนำไปอ้างอิงต่ออย่างน้อย 5 ครั้ง ในขณะที่นาย
B มีค่า h-index = 10 หมายความว่านาย B มีบทความ 10
บทความที่ได้รับการนำไปอ้างอิงต่ออย่างน้อย
10 ครั้ง จะเห็นได้ว่าการที่นาย B มี h-index
ถึง 10 นั้นแปลว่า (1) นาย B ต้องมีการตีพิมพ์อย่างน้อย 10 เรื่อง และ (2)
แต่ละเรื่องได้ถูกนำไปอ้างอิงอย่างน้อย
10 ครั้ง ดังนั้น h-index จึงเป็นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงความ active ของนักวิจัยในการผลิตงาน
พร้อมกับบอกว่างานที่ผลิตนั้นแต่ละเรื่องมีผู้สนใจนำไปอ้างอิงต่อเยอะและสม่ำเสมอเพียงใด ค่า h-index นี้ขึ้นกับฐานข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูล
เช่น ISI, Scopus, Google ต่างมีฐานของตัวเองและค่า h-index จากแต่ละฐานก็อาจจะต่างกันได้
อย่างไรก็ตามค่า h-index
ก็ไม่ใช้ตัวชี้วัดตัวเดียวที่มีการใช้กัน เนื่องจากบางครั้งต้องยอมรับว่าหากทำสร้างผลงานมางานไม่เยอะแต่เป็นผลงานที่สำคัญมากๆ
อาจจะมีค่า h-index ต่ำๆ แต่มีผลกระทบมากก็เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น Peter Higgs เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ผู้ค้นพบอนุภาค
Higgs มีค่า h-index
บน
Scopus เพียง 9 และตีพิมพ์เพียง 16 บทความเท่านั้น ศาสตราจารย์ Higgs
เองเคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาคงหางานทำในมหาวิทยาลัยปัจจุบันไม่ได้แน่ๆ
เพราะเขาคงถูกมองว่าไม่ active เพียงพอ
จากการลองค้นค่า h-index ของ
นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีบางคนบนฐานข้อมูล Scopus ซึ่งค้นได้จาก
https://www.scopus.com/freelookup/form/author.uri ได้ผลดังนี้
ชื่อ
|
จำนวนบทความ
|
h-index
|
Jean-Pierre Sauvage (2016)
|
424
|
84
|
Tomas Lindahl (2015)
|
239
|
92
|
Eric Betzig (2014)
|
115
|
43
|
แน่นอนว่าพอมีการรายงานค่า
h-index นี้มา ก็มีการนำมาใช้ประโยชน์กันบ้างโดยมักใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาบางอย่าง
เช่น Scopus จะมีการตรวจสอบ h-index ของคนที่เป็นบรรณาธิการ (editor) ของวารสารเพื่อพิจารณานำวารสารเข้าฐานข้อมูลซึ่งตามความเข้าใจของผมก็คือคนที่จะมาเป็นบรรณาธิการวารสารควรเป็นนักวิจัยที่ active ในการตีพิมพ์และตีพิมพ์ผลงานในระดับที่มีคนนำไปอ้างอิงเยอะๆ เสียก่อนที่จะมาตัดสินผลงานของคนอื่นๆ
เช่นเดียวกันในบ้านเราเอง สกว. มีการให้ทุนพัฒนาเครือข่ายวิจัยนานาชาติซึ่งกำหนดให้หัวหน้าโครงการจะต้องมี
h-index อย่างน้อย 10
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น