แม้ว่าในปัจจุบันวารสารส่วนใหญ่จะไม่เรียกเก็บค่าตีพิมพ์
(publication charge, page charge) จากผู้เขียน แต่ก็ใช่ว่าการตีพิมพ์นั้นจะฟรีเสมอไป
โดยทั่วไปการตีพิมพ์บทความนั้นตั้งแต่สมัยก่อนมาก็จะตีพิมพ์เล่มเป็นขาวดำดังนั้นหากผู้เขียนต้องการให้วารสารตีพิมพ์ภาพสี
เช่น เป็นภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศ์ที่มีการย้อมสีเซลล์ที่สนใจ
วารสารส่วนใหญ่จะขอเก็บเงินสำหรับหน้าที่ตีพิมพ์เป็นสี แม้ว่าตัวฉบับ Online นั้นปัจจุบันวารสารจะตีพิมพ์ภาพสีและกราฟที่เป็นสีให้ฟรี
นอกจากนี้จะมีส่วนที่อาจจะเป็นราคาที่แพงคือ
Open Access (OA) option ซึ่งวารสารใหญ่ๆ
ส่วนใหญ่จะทำระบบนี้ไว้ให้กับบทความที่ได้รับการ accept แล้ว
นั่นคือหากผู้เขียนต้องการให้วารสารเปิดบทความของผู้เขียนนั้นๆ เป็นแบบ Open
access ทันทีที่ตีพิมพ์ ผู้เขียนก็จะต้องจ่ายเงิน
โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 3,000 USD ก็ประมาณ 1 แสนบาทเท่านั้นเอง ถ้าสงสัยว่าแล้วการที่ทำให้เป็น OA มันดีอย่างไร เราก็ต้องเข้าใจก่อนว่าการที่จะเปิดอ่านบทความของวารสารต่างๆ
ได้ เช่นใน ScienceDirect นั้นจะต้องมีการจ่ายเงินค่า subscription
แก่ทางบริษัทเสียก่อน เช่น ถ้าเป็นนักศึกษาในประเทศไทย นั้น สกอ.
จะเป็นผู้จ่ายให้แล้วให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าใช้ได้ แต่ถ้าเป็นในประเทศอื่น
แต่ละมหาวิทยาลัยก็อาจจะต้องจ่ายเงินเอง เป็นต้น แต่ก็มีอีกหลายประเทศ
อีกหลายมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลเหล่านี้ได้
หมายความว่าเขาไม่สามารถอ่านบทความของเราได้
ถ้าเราทำให้บทความของเราเป็น OA ไม่ว่าใครบนโลกนี้ก็สามารถดาวโหลด
full text ของเราไปอ่านได้ฟรีๆ
บางวารสารในสาย
Food Science & Technology ที่ยังมีการเก็บเงินค่าตีพิมพ์นั้นก็มีอยู่
โดยส่วนใหญ่เป็นวารสารของสมาคมวิชาชีพซึ่งอาจจะไม่มีรายได้มากนัก
(การจัดทำวารสารก็มีต้นทุน)
Journal
|
การเก็บค่าตีพิมพ์
|
สำหรับกรณีที่ผู้แต่งไม่ได้เป็นสมาชิกของ IFT เก็บหน้าละ 120 USD แต่ถ้าไม่มีเงินจ่าย
ต้องทำจดหมายขอยกเว้นซึ่งลงนามโดยผู้เขียนและหัวหน้าต้นสังกัด
ส่วนภาพสีคิดภาพละ 500 USD
|
|
เก็บหน้าที่เกินจาก 7 หน้า (เมื่อจัดหน้าก่อนการตีพิมพ์แล้ว) หน้าละ 100
GBP
|
|
จ่ายค่า reprint
(บทความที่ตีพิมพ์แล้ว เอาไว้ให้คนอื่นได้) อย่างน้อย 50 ชุด ประมาณ 30,000 Yen
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น