วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Scope and Speed


          การเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์นับเป็นสิ่งที่ผู้เขียนต้องตัดสินใจเป็นอันดับแรกๆ ในกระบวนการเขียนเปเปอร์ (หลังจากมีงานวิจัยเพียงพอที่จะตีพิมพ์) ซึ่งโดยทั่วไปนักวิจัยก็อยากตีพิมพ์ในวารสารที่เขาว่ากันว่าดีที่สุดในสาขาของตน โดยอาจดูที่ค่า Impact factor (IF) เปรียบเทียบกันระหว่างวารสารในกลุ่มที่คิดว่าเป็นเป้าหมาย เช่น ถ้าเป็นวารสารด้าน Food Science & Technology ก็หาค่า IF ของวารสารต่างๆ มานั่งดู แล้วก็เลือกวารสารที่เข้าข่ายอยู่ในสาขาของงานวิจัยที่ได้ทำไป ซึ่งปัจจุบันวารสารขนาดใหญ่จะระบุขอบเขต (scope) ที่ค่อนข้างชัดเจน อย่างเช่น ตัวอย่างของ LWT- Food Science and Technology (ภาพที่ 1) นั้นเขาก็ระบุว่าเราตีพิมพ์งานในกลุ่ม food chemistry, biochemistry, microbiology, technology, nutrition แต่งานที่เน้นการทดสอบในสัตว์ทดลองนั้นจะไม่รับพิจารณา  ข้อมูลนี้ควรเป็นสิ่งที่เราต้องอ่านให้ละเอียดเวลาเลือกวารสาร




ภาพที่ 1 ตัวอย่าง scope ของวารสาร LWT- Food Science and Technology  (http://www.journals.elsevier.com/lwt-food-science-and-technology)


หรืออย่างวารสาร Carbohydrate Polymers เขาก็ทำตัวอย่างบทความที่มักจะไม่ได้รับการพิจารณาในวารสารดังภาพที่ (2)


 


ภาพที่ 2 ตัวอย่าง scope ของวารสาร Carbohydrate Polymers     (http://www.journals.elsevier.com/carbohydrate-polymers)

         นอกจาก scope แล้วสิ่งที่ควรดูคือจำนวนเล่มของการตีพิมพ์ แม้ว่าปัจจุบันวารสารส่วนใหญ่ตีพิมพ์เดือนละเล่มเป็นส่วนใหญ่ (12 issues/year) แต่ก็มีวารสารชนาดเล็กอีกพอควรที่ตีพิมพ์ 6 issues บ้าง หรือบางที่แค่ 4 issues ก็มี ที่มากกว่าที่อื่นก็อย่างเช่น Journal of Agricultural and Food Chemistry ที่ออกเป็นรายสัปดาห์ (52 issues/year) จำนวนเล่มการตีพิมพ์ก็จะส่งผลถึงระยะเวลาของการ peer review ถ้าต้องพิมพ์มากก็ต้องมีเรื่องที่วารสารรับเข้ามามาก ดังนั้นก็ต้องมีระบบการ peer review ที่รวดเร็ว (ภาพที่ 3, 4) ในทางตรงกันข้ามวารสารที่ตีพิมพ์น้อยกระบวนการก็มักจะช้าตามไปด้วย (ภาพที่ 5)
 



ภาพที่ 3 ตัวอย่างการดูประวัติของบทความใน Food Chemistry ฉบับล่าสุด อันนี้ได้รับต้นฉบับ (received) วันที่ 29 August, ได้รับฉบับแก้ไข (revised) วันที่ 16  October, และตอบรับตีพิมพ์ (Accepted) วันที่ 19 October รวมกระบวนการ peer review เพียง 7 สัปดาห์



ภาพที่ 4 ตัวอย่างการดูประวัติของบทความใน Journal of Agricultural and Food Chemistry ฉบับล่าสุด อันนี้ได้รับต้นฉบับวันที่ March 27, revised วันที่ June 07, และตอบรับวันที่  June 18 รวมกระบวนการ peer review ประมาณ 2 เดือน


ภาพที่ 5 ตัวอย่างการดูประวัติของบทความใน Journal of Food Quality ฉบับล่าสุด รับต้นฉบับวันที่ 23 Aug, 2014  และตอบรับวันที่ 28 June, 2015 รวมกระบวนการ peer review ประมาณ 10 เดือน


          ดังนั้นหากใครมีงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงและพร้อมจะ challenge ก็แนะนำว่าส่งวารสารที่ IF สูงๆ ตีพิมพ์เยอะๆ ก็จะมีโอกาสได้รับตีพิมพ์เร็ว แต่ถ้าคุณภาพงานของเรายังไม่ดีพอก็ต้องเผื่อเวลา (และทำใจ) สำหรับกระบวนการ peer review ไว้ซัก 6-12 เดือน  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น